คุณสมบัติและการใช้งานของตู้ตรวจการได้ยิน
ใช้ป้องกันเสียงรบกวน เพื่อใช้เป็นห้องตรวจการได้ยินกับเครื่องตรวจการได้ยิน (Audiometer) และการตรวจอื่นๆ ที่ต้องการความเงียบ

คุณสมบัติทั่วไป
ห้องป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกและป้องกันเสียงสะท้อนภายในห้อง ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขหรือตามมาตรฐาน OSHA
สามารถติดตั้งเครื่องตรวจวัดการได้ยิน Air Conduction, Bone Conduction, Speech และ Sound Field
มีช่องกระจกกั้นสำหรับให้ผู้ตรวจมองเห็นผู้ป่วย
ระบบไฟฟ้าภายในห้องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ มีแผงช่องสัญญาณสำหรับสายต่อต่างๆ ของเครื่องตรวจการได้ยินเข้าไปในห้องตรวจ
คุณสมบัติทางเทคนิค

ขนาดพื้นที่ภายนอกห้องมีขนาดไม่น้อยกว่า กว้าง 1.20 x ยาว 1.20 x สูง 2.20 ม.
ตัวตู้ภายนอกทำด้วยเหล็กพ่นสีกันสนิมและพ่นทับด้วยสีพิเศษอย่างดีกันรอยขีดข่วนอย่างน้อย 2 ชั้น
ภายในตู้ ผนังบุด้วยวัสดุกันเสียงเพื่อดูดซับเสียงและกันเสียงสะท้อน
ผนังตู้มีช่องว่างซึ่งบรรจุด้วยวัสดุดูดซับเสียงซึ่งมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันเสียงและปิดทับด้วยแผ่นไม้บุด้วยพรมหนาประมาณ 10 ซม.
ด้านหน้าติดตั้งกระจกที่สามารถมองเห็นภายในห้องตรวจโดยเป็นกระจก 2 ชั้นที่มีช่องว่างระหว่างกระจกจะเป็นอากาศแห้งโดยมีขนาด กว้าง 55 ซม.x ยาว 60 ซม.x หนา 6.0 มม. เป็นอย่างน้อย
ประตูบุด้วยวัสดุกันเสียงเพื่อดูดซับเสียงขอบประตูยางพร้อมระบบ Magnetic Lock ประตูมีมือจับระบบสามารถเปิดจากภายในได้
ระบบระบายอากาศ ใช้พัดลมดูดอากาศที่มีอากาศใกล้กับอากาศภายนอกพร้อมวัสดุลดเสียงรบกวนภายในช่องพัดลมระบายอากาศ
ภายในและภายนอกตู้ติดตั้งแผงต่อสัญญาณระหว่างเครื่องตรวจภายนอกกับภายในห้องตรวจโดยจะมีแจ็คเสียบ จำนวนด้านละ 1 ชุดๆ ละไม่น้อยกว่า 10 จุด
ระบบไฟฟ้าภายนอกตู้จะเป็นไฟกระแสสลับ 220 Volt 50 Hz พร้อมต่อระบบสายดิน (GND)เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว
มีโคมไฟแสงสว่างหนึ่งจุด
พื้นห้องรองด้วยแผ่นยางกันเสียงยกสูงจากพื้นอย่างน้อย 10 ซม. และปูพรมอย่างดี
สามารถกันเสียงได้ตรงตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขหรือตามมาตรฐาน OSHA

เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้านการแก้ไขปัญหาการได้ยินแบบครบวงจร