คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน

คำแนะนำเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน

คำแนะนำเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน

คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน

โดย ดร.มุกดา พัฒนะเอนก นักโสตสัมผัสวิทยา

คุณรู้อะไรเกี่ยวกับการได้ยิน?
คำพูดของเราเกิดจากการผสมผสานกันของความคิด และความนึกคิดข้างในสุด ถึงแม้ว่าการติดต่อสื่อสารจะเกี่ยวข้องกับท่าทาง แต่การแสดงออกทางสีหน้า ความสามารถที่จะพูดและได้ยินนี้เป็นความสามารถโดยธรรมชาติ ถ้าปราศจากความสามารถที่จะได้ยินแล้วเราก็ไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสารได้เหมือนคนปกติ และเพื่อให้คุณภาพของชีวิตดีขึ้น เราจึงจำเป็นต้องได้ยินสิ่งต่างๆในโลกใบนี้

การป้องกันการได้ยินของคุณจากเสียงดัง
สาเหตุที่สำคัญที่สุดของการสูญเสียการได้ยินในคนเราทุกวันนี้เกิดจากเสียงรบกวน และทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำดูเหมือนว่าจะทำให้เกิดเสียงซึ่งเป็นอันตรายกับการได้ยินของเรา

  • เสียงรบกวนในที่ทำงาน
  • เสียงเครื่องมือ เช่น เสียงเลื่อยไฟฟ้า
  • เสียงเพลงดัง ๆ เช่น เสียงในคอนเสิร์ต
  • เสียงจากงานอดิเรก เช่น การยิงปืน

สิ่งเหล่านี้แม้เพียง 2 – 3 สถานการณ์ก็สามารถส่งผลกระทบต่อหูคุณได้ นอกจากจะทำให้คุณไม่สามารถฟังคำสนทนาในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนได้แล้ว เสียงดังมากๆ ยังเป็นสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินอีกด้วย เมื่อไรก็ตามเมื่อคุณอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนคุณควรจะใส่เครื่องป้องกันเสียง จุกป้องกันเสียง หรือที่ครอบหูป้องกันเสียง จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับการได้ยินเมื่อคุณอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงรบกวน

ยาสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินของคุณได้
ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้เกิดการสูญเสียงการได้ยินได้ ควรหลีกเลี่ยงถ้าไม่จำเป็น ถ้าคุณได้รับยา ต้องถามแพทย์ให้แน่ใจว่ามีผลกระทบต่อการได้ยินหรือไม่ บางครั้งเมื่อคุณได้รับยาและมีเสียงดังในหู ต้องบอกแพทย์และรายงานอาการให้ทราบทันที

การทดสอบการได้ยินเป็นสิ่งจำเป็น
การสูญเสียการได้ยินเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย และสามารถทดสอบได้โดยการตรวจการได้ยิน

ใครควรจะถูกทำการทดสอบ

  • เป็นไปได้เด็กทุกคนควรได้รับการประเมินการได้ยินทันทีหลังจากเกิด การเฝ้าระวังตั้งแต่แรกเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาการทางภาษาที่สำคัญ
  • ผู้ใหญ่ทุกคนที่ได้รับเสียงรบกวนที่ดังมาก ควรจะได้รับการตรวจการได้ยินอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
  • ทุกคนที่มีประสบการณ์กับความยากลำบากในการได้ยินควรได้รับการประเมินการได้ยินเพื่อคงไว้ซึ่งทักษะทางการติดต่อสื่อสารและการฟัง

การประเมินการได้ยินด้วยตนเอง

คำถามข้างล่างนี้ทำขึ้นเพื่อประเมินความสามารถของคุณที่จะได้ยินในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน การประเมินเหล่านี้เป็นรูปแบบที่ไม่ได้เป็นทางการและไม่ได้ใช้เป็นแบบทดสอบการได้ยิน

ถ้าคุณตอบคำว่า “ใช่” 3 ข้อ หรือมากกว่า 3 ข้อ คุณอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน

  1. คุณมีปัญหาในการเข้าใจคำพูดแม้ว่าคุณจะได้ยินสิ่งที่พวกเราทั้งหลายพูด?
  2. คุณมักจะถามซ้ำว่าพวกเราพูดว่าอะไร?
  3. คุณสามารถได้ยินและเข้าใจอะไรที่พูดโดยไม่ได้มองหน้าเขา?
  4. คุณรู้สึกว่าคนทั่วไปพูดเสียงค่อย ฟังไม่ค่อยชัด?
  5. คุณสามารถแยกความแตกต่างของเสียงคำพูดจากเสียงรบกวนอื่นๆ?
  6. คุณสามารถบอกชนิดของเสียงรบกวนจากเสียงอื่นๆ?
  7. คุณสามารถได้ยินเสียงรบกวนที่ดัง?
  8. คุณมีความยากลำบากในการติดตามการสนทนาในสถานที่มีเสียงรบกวน เช่น ภัตตาคาร?
  9. สมาชิกภายในครอบครัวของคุณมักจะบ่นว่าคุณฟังวิทยุ หรือโทรทัศน์ดังเกินไป?
  10. เคยมีใครบอกคุณไหมว่าคุณพูดดังมาก?

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน

  • ประมาณ 10% ของประชากรมีปัญหาทางการได้ยิน
  • ประสาทหูเสื่อม เป็นสิ่งที่พบบ่อยจากภาวะการสูญเสียการได้ยิน
  • เครื่องช่วยฟังสามารถช่วยให้ได้ยินดีขึ้นประมาณ 95% ของผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน

ใครบ้างที่มีปัญหาทางการได้ยิน?

กลุ่มอายุ % ชนิดของการสูญเสียการได้ยิน
มากกว่า 30% มีการสูญเสียการได้ยิน
45 – 64 14% สูญเสียการได้ยิน

 

การสูญเสียการได้ยินที่พบบ่อยมาก

  • Otitis Media (การติดเชื้อภายในหูชั้นกลาง)

สาเหตุที่สำคัญที่สุดของการสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราวประมาณ 70% ในทารกและเด็กมาจากการติดเชื้อของหูชั้นกลาง

  • Presbycusis (ประสาทหูเสื่อมตามอายุ)

การสูญเสียการได้ยินที่ความถี่สูงมักเกิดกับผู้สูงอายุ และนำไปสู่ความยากลำบากในการเข้าใจคำพูด

  • Noise Induced (ประสาทหูเสื่อมจากเสียง)

การสัมผัสเสียงดังเป็นเวลาต่อเนื่องนานๆจะทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวรได้

 “เรื่องหูไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ระบบของหูของเรามีความซับซ้อน และละเอียดอ่อนเกินประมาณ หากเป็นไปได้
พวกเราควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังจนเข้าขั้นอันตราย
และควรไปตรวจการได้ยิน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง”

เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้านการแก้ไขปัญหาการได้ยินแบบครบวงจร