ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน มีอะไรบ้าง?

ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน

ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน

การนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss)
เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นนอก และหูชั้นกลาง แต่ประสาทหูยังดีอยู่ทำให้มีความผิดปกติในการส่งผ่านคลื่นเสียงไปสู่หูชั้นในสามารถแก้ไขด้วยทางยา หรือการผ่าตัด
อาการ
   •  มีของเหลวออกจากช่องหู เช่น เลือด หรือหนอง มีประวัติการอักเสบของช่องหูมาก่อน การพูดคุยมักพูดเสียงเบาทุ้มนุ่มนวล การได้ยินจะดีชัดเจนเมื่ออยู่ในที่จอแจแต่ไม่ค่อยดีในที่เงียบๆ บางรายอาจมีเสียงรบกวนในหูเป็นเสียงต่ำๆ การพูดจาชัดเจนออกเสียงได้ตามปกติ ตรวจการได้ยินพบการสูญเสียในช่วงความถี่ต่ำๆ และมักไม่มากกว่า 60 dBHL
สาเหตุ
   •  โรคหรือความผิดปกติที่หูชั้นนอก : หูพิการแต่กำเนิด สิ่งแปลกปลอมทำให้เกิดการอุดตันในช่องหู ขี้หูอุดตัน
   •  โรคหรือความผิดปกติที่แก้วหู : มีรูทะลุที่เยื่อแก้วหู แก้วหูอักเสบ เยื่อแก้วหูหนา
   •  โรคหรือความผิดปกติในหูชั้นกลาง : มีเลือดออกในหูชั้นกลาง โรคหูน้ำหนวก(ทั้งชนิดมีน้ำไหลและแห้ง) โรคหูชั้นกลางมีหินปูนจับแข็ง ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัส กระดูกสามชิ้นแตกหรือหัก

ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง (Sensorinural hearing loss)
เกิดจากความผิดปกติที่หูชั้นในหรือประสาทรับฟังเสียง จะได้ยินเสียงแต่ฟังไม่รู้เรื่อง เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้
อาการ
   •  ถ้ามีการสูญเสียของประสาทหูมากทั้งสองข้างและเป็นเวลานาน เสียงพูดจะดังมากกว่าปกติ เพราะไม่ได้ยินเสียงตัวเอง มีเสียงรบกวนในหูเป็นเสียงสูงๆ จะฟังเสียงพูดได้ดีเมื่ออยู่ในที่สงบและจะไม่ค่อยเข้าใจคำพูดแม้ว่าเสียงพูดนั้นดังถึงระดับการได้ยินปกติแล้วก็ตาม มักมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนร่วมด้วย ถ้าประสาทหูเสียมากทั้งสองข้างหรือเป็นมาแต่กำเนิดมักจะพูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ ไม่มีประวัติของการตรวจหู ตรวจการได้ยินจะพบการสูญเสียในช่วงความถี่สูงๆ
สาเหตุ
   •  ประสาทรับฟังเสียงบกพร่องแต่กำเนิด : ขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์หรือระหว่างคลอด, ติดเชื้อแต่กำเนิดหรือหลังคลอด เช่น ซิฟิลิส หัด หัดเยอรมัน คางทูม สุกใส ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ, การอักเสบของเยื่อหุ้มสมองชั้นใน
   •  ประสาทรับฟังเสียงบกพร่องจากยา : ผู้ป่วยจะมีการสูญเสียการได้ยินของหูทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน ยาบางชนิดทำให้มีอาการชั่วคราว เมื่อหยุดยาการได้ยินอาจกลับคืนมาได้ แต่ยาบางชนิดก็ทำให้มีอาการถาวรรักษาไม่หาย เช่น kanamycin, streptomycin

ประสาทการรับฟังบกพร่องจากเสียงดัง (noise induced hearing loss)
เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับปริมาณของของเหลวในหูชั้นใน (Meniere’s disease)
อาการ
•  มีอาการหูอื้อ เวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน และมีเสียงรบกวนในหู อาจเป็นหูเดียวหรือสองหูก็ได้ อาการของโรคจะเป็นซ้ำๆกัน มีอาการเป็นๆ หายๆ
ประสาทหูพิการจากการจับแข็งของกระดูกในหูชั้นใน

ประสาทหูบกพร่องในวัยชรา (Presbycusis hearing loss)
เกิดจากความผิดปกติเกิดขึ้นจากเซลล์ขนที่อยู่บริเวณฐานของก้นหอยในหูชั้นในมีการเสื่อมไปตามอายุ ทำให้รับฟังเสียงสูงๆ ได้ไม่ดี มักมีเสียงดังในหูเป็นเสียงสูงๆ ตรวจช่องหูไม่พบสิ่งผิดปกติ มีความผิดปกติของการได้ยินของหูทั้งสองข้าง มักพบในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
สาเหตุ

   •  ศีรษะถูกกระทบกระเทือน ทำให้ประสาทรับฟังเสียงบกพร่องเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง

การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mix hearing loss)
เกิดจากความผิดปกติในระบบการนำเสียงร่วมกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง พบในโรคที่มีความพิการที่หูชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นในรวมกัน เช่น โรคหูน้ำหนวกเรื้อรังซึ่งอาการลุกลามเข้าไปในหูชั้นใน โรคหินปูนจับแข็งที่กระดูกโกลน เป็นต้น การรักษาโดยการผ่าตัดอาจจะช่วยได้บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด

ความผิดปกติทางจิต (Functional or Psychological hearing loss)
มีความผิดปกติของจิตใจ ต้องปรึกษาทางจิตเวชร่วมด้วย

ความบกพร่องที่สมองส่วนกลาง (Central hearing impairment)
เป็นความบกพร่องของสมอง โดยเฉพาะทำให้ผู้ป่วยได้ยินเสียง แต่ไม่สามารถแปลความหมายได้ จึงไม่สามารถเข้าใจความหมายขชองเสียงที่ได้ยิน และไม่สามารถโต้ตอบกลับไปได้ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง หรือโรคหลอดเลือดในสมองแตก ตีบตัน เป็นต้น

เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้านการแก้ไขปัญหาการได้ยินแบบครบวงจร